วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทสวดพุทธาภิถุติ

บทสวดพุทธาภิถุติ

(หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวา โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง
สะพรหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง
สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง
มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง
ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ (กราบ)

พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด

เป็นผู้ไกลจากกิเลส

เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้

อย่างไม่ใครยิ่งใหญ่กว่า

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด

ได้ทรงทำความดับทุกข์

ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เองแล้ว

ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวาดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ทั้งสมณพราหมณ์

พร้อมทั้งเทวาดาและมนุษย์ให้รู้ตาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว

ไพเราะในเบื้องต้น

ไพเราะในท่ามกลาง

ไพเราะในที่สุด

ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ

บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้งเชิง

พร้อมทั้งอรรถ (คำอิบาย)

พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ)

ข้าพเจ้าบูชายิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า

(กราบรำลึกถึงพระพุทธคุณ)



ทำวัตรเช้า

ที่มา : หนังสือบททำวัตรสวดมนต์ประจำศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น