วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทสวดสังเวคะปริกิตตะนะปาฐะ

บทสวดสังเวคะปริกิตตะนะปาฐะ


อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์

อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน

สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต, เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ

มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ, พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า

ชาติปิ ทุกขา แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์

ชะราปิ ทุกขา แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์

เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

รูปูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป

เวทะนูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา

สัญญูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา

สังขารูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร

วิญญาณูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ

เยสัง ปะริญญายะ, เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง

ธะระมาโน โส ภะคะวา จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่

เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก

เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ

อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า

รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง

เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง

สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง

สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง

วิญญาณัง อะนิจจา, วิญญาณไม่เที่ยง

รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน

เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน

สัญญา อะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน

สังขารา อะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน

วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน

สังเพ สังขารา อะนิจจา, สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง

สังเพ ธัมมา อะนัตตาติ, ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้

เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ, พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว

ชาติยา, โดยความเกิด

ชะรามะระเณนะ, โดยความแก่ และความตาย

โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย

ทุกโขติณณา, เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว

ทุกขะปะเรตา, เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว

อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ

ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะถึงปรากฏชัด แก่เราได้

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ

ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย

ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ,

จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง

สา สา โน ปะฏิปัตติ, ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย

อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.

จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น เทอญ

(สำหรับพระภิกษุสวด)

จิระปะรินิพนิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,

เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้ไกลจกกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แม่ปรินิพานนานแล้ว พระองค์นั้น

สัทธา อะคารัสมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา,

เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว

ตัสมิง ภะคะวะติ พรัหมะจะริยัง จะรามะ

ประพฤติอยู่ซึ่งพมหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น

ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา

ถึงพร้อมด้วยสิขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ของภิกษุทั้งหลาย

(สมาเณรสวดพึงเว้นประโยคนี้ หรือเปลี่ยนก็ได้ว่า สามะเณรานัง สิกขา สาชีวะสะมาปันนา

ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของสามเณรทั้งหลาย)

ตัง โน พรัหมะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.

ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.


(จบคำทำวัตรเช้า)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น