วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

อริยทรัพย์ 7

อริยทรัพย์ 7 คือ คุณความดีอันเป็นทรัพย์ประเสริฐ 7 ประการ

1. ศรัทธา คือ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ

2. ศีล คือ ประพฤติกายวาจาเรียบร้อย

3. หิริ คือ ความละอายต่อการทำชั่ว

4. โอตัปปะ คือ ความสะดุ้งกลัวต่อการทำชั่ว

5. พาหุสัจจะ คือ ความเป็นคนได้ยินได้ฟังมามาก

6. จาคะ คือ การให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้

7. ปัญญา คือ ความรอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นไท

อกุศลมูล 3 รากเหง้าของความชั่วทั้ง 3 ประการ

อกุศลมูล 3

อกุศลมูล คือ รากเหง้าของความไม่ฉลาด รากเหง้าของความชั่วทั้ง 3 ประการ

1. โลภะ คือ ความอยากได้

2. โทสะ คือ ความคิดประทุษร้ายเขา

3. โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง

หลักพรหมวิหาร4

หลักพรหมวิหาร 4
คือหลักธรรม 4 ประการ คือ ธรรมะของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่

1. เมตตา ความรักใคร่ ปราถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
3. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข
4. อุเบกขา วางตนเป็นกลาง ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ มีทุกข์

หลักทศพิธราชธรรมหรือหลักธรรมของพระมหากษัตริย์


หลักทศพิธราชธรรมหรือหลักธรรมของพระมหากษัตริย์ในการปกครองแผ่นดิน

หลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ มีอยู่ดังนี้

1. ทาน ได้แก่ การให้ปัน ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์

2. ศีล ได้แก่การสำรวม กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม
3. บริจาค ได้แก่ การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่นหรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข

4. อาชวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม

5. มัทวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยดีงาม ละมุนละไม อ่อนโยน สุภาพ

6. ตบะ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ

7. อโกรธะ ได้แก่ ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ

8. อวิหิงสา ได้แก่ การไม่เบียดเบียนคนอื่น

9. ขันติ ได้แก่ ความอดกลั้นไม่ปล่อยกาย วาจา ใจ ตามอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดมีขึ้นนั้น

10. อวิโรธนะ ได้แก่ การธำรงค์รักษาไว้ซึึ่งความยุติธรรม

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระอรหันต์แบบที่ 4 พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ

พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ
พระอรหันต์ผู้บรรลุซึ่งปฏิสัมภิทา 4
มีรอบรู้แตกฉานในความรู้ 4 ประการ คือ ความแตกฉานในปฏิภาณไหวพริบ ความแตกฉานในภาษา ความแตกฉานในอรรถ ความแตกฉานในธรรม
จึงเป็นเหตุให้มีฤทธิ์คล่องแคลว สามารถระลึกชาติได้ มีหูทิพย์ตาทิพย์ อ่านใจคนและสัตว์ แสดงฤทธิ์ได้ จึงทำให้มีแตกฉานและเข้าใจกฎแห่งกรรมเป็นเหตุให้อาสวะให้สิ้นไป

พระอรหันต์แบบที่ 3 พระฉฬภิญญะ

พระฉฬภิญญะ
พระอรหันต์ผู้ได้ซึ่งอภิญญาหก คือ มีทิพฺพจักขุ ตาทิพย์ หูทิพย์ ตาทิพย์
มีฤทธิ์ด้วยอำนาจกสิณ จึงเป็นเหตุให้สามารถอ่านใจคนและสัตว์ สามารถระลึกชาติได้
จึงเป็นเหตุให้รู้แจ้งในอย่างละเอียด เป็นเหตุให้อาสวะให้สิ้นไป

พระอรหันต์แบบที่ 2 พระเตวิชชะ

พระเตวิชชะ
เป็นพระอรหันต์ผู้ได้วิชชาสาม
มีทิพยจักขุญาณ สามารถระลึกชาติได้ รู้เหตุของจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
เป็นผู้เข้าถึงธรรมะขั้นสูง มีความรู้และเข้าใจกฎแห่งกรรมอย่างละเอียดในธรรมเป็นเหตุให้อาสวะให้สิ้นไป

พระอรหันต์แบบที่ 1 พระสุกขวิปัสสก

พระสุกขวิปัสสก

สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ด้วยการทำอาสวะให้สิ้นไป
ด้วยความรู้อย่างละเอียดในธรรมเป็นเหตุให้อาสวะให้สิ้นไป
แต่ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้แจ้งในธรรม


พระอรหันต์

พระอรหันต์ คือ ผู้ซึ่งสำเร็จมรรคผลนิพาน เป็นอริยบุคคลที่เข้าถึงธรรมะขั้นสูง ด้วยสามารถละซึ่งกิเลส 10 ประการ

พระอรหันต์ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท
คือ
พระสุกขวิปัสสก
พระเตวิชชะ
พระฉฬภิญญะ
พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ

เข้าถึงธรรม

ผู้รู้ไม่พูด ผู้ไม่พูดรู้ 
ผู้พูดไม่รู้ ผู้ไม่รู้พูด
คนที่รู้มีมาก คนปฏิบัติมีน้อย
คนเผยแผ่มีมาก คนเข้าใจมีน้อย
ฉะนั้นจงอย่าดูหมิ่นคนที่หลงงมงาย

จากภาพยนตร์อภินิหารตั๊กม้อ

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เหตุแห่งทุกข์ตามแนวคิดพุทธ

สาระพุทธน่ารู้เกี่ยวกับต้นเหตุแห่งทุกข์

พระพุทธเจ้าตรัสกับนางวิสาขา


พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน วิสาขาสูตร

(ว่าด้วยเรื่องความรัก)

ดูก่อนนางวิสาขา

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 100 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 100

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 90 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 90

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 80 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 80

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 70 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 70

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 60 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 60

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 50 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 50

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 40 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 40

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 30 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 30

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 20 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 20

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 10 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 10

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 9 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 9

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 8 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 8

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 7 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 7

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 6 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 6

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 5 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 5

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 4 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 4

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 3 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 3

ผู้ใดมีสิ่งทีรัก 2 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 2

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 1 ผู้นั้นก็มีทุกข์ 1

ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์

เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

พุทธไทย

หนึ่งเดียวในโลก ศาสนาประจำชาติของคนไทย
สำหรับศาสนาพุทธในประเทศไทยมีมานานหลายร้อย หลายพันปี
เนื่องจากโบราณสถานต่าง ๆ ในดินแดนประเทศไทยมีโบราณสถานของพุทธศาสนาหลายแห่งที่มีอายุหลายพันปี
นับว่าเรานับถือศาสนาพุทธมาอย่างยาวนาน
และมุ่งมั่นในหลักธรรมคำสอนจากรุ่นสู่รุ่น
ซึ่งบางคนมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป....
เช่น บางคนว่าพุทธไทยดี......บางคนว่าพุทธไทยงมง่าย
จะว่าอย่าไรก็ช่างเขาเถอะ ปากมนุษย์พูดได้อยู่เรื่อยไป....
พุทธไทย ว่ากันไปแล้วเรามีทั้งเปลือกและแก่นอยู่ด้วยกัน เปรียบเหมือนผลไม้
ที่สุกงอม สามารถกินได้ กินเปลือกก็ถึงใน จะกินในต้องแกะเปลือก....
ฉะนั้นพุทธแบบไทย ๆ เราจึงมีทั้งข้อดีและข้อเด่นที่ต่างไปจากศาสนาพุทธแบบอื่น ๆ
คือเราได้นำเอาศาสนาพุทธมารวมกับความเชื่อและค่านิยมประเพณี
ในแต่ละภาคจึงมีความเชื่อเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกันไปอีกเช่น
ภาคเหนือมีการทำบุญในวันขึ้นปีใหม่ วันพระในวันพุธ จะมีการใส่บาตรพระอุปคุต ในฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวมีการทำบุญ เรียกว่า ตานข้าวใหม่ การทำบุญใหญ่อีกอย่างเรียกว่า ปอยหลวง และอื่นๆ ที่ผูกโยงเอาความเชื่อประเพณีเข้ากับศาสนา
ภาคอีสาน ภาคใต้ มีการนำเอาหลักการของศาสนามาโยงความวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงาม
ฉะนั้นพุทธแบบไทยจึงมีความงามแบบไทย

เรื่องราวของไสยศาสตร์ เครื่องรางของคลังก็เป็นอีกหนึ่งความเชื่อของพุทธศาสนาแบบไทย
ที่ว่ามีจริงหรือไม่นั้น ไม่ต้องไปใส่ใจ เพื่อให้รู้ว่า ทุก ๆ สิ่งที่อดีตกาลสั่งสมมาเพื่อให้ชนรุนหลังได้รู้ว่าพุทธศาสนายังคงอยู่ และกระตุ้นให้ลูกหลานได้รู้ว่าพุทธศาสนาเป็นอย่างไร
ซึ่งมีบางคนอีกเช่นกันมักจะมองว่าพุทธไทยมีแต่วัตถุ อันที่จริงแล้วไม่ติดอยู่กับวัตถุหลอก …..
วัตถุเป็นเพียงเครื่องเหนี่ยวนำ หากมีแต่คนบรรยายธรรม วันหนึ่งคนเหล่านั้นดับสูญ
ขาดผู้สืบทอด คงไม่มีสาระให้ลูกหลานได้ค้นคว้ากันต่อไป
เรื่องราวของพุทธไทยใน blog แห่งนี้จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ให้ครบรสแห่งพุทธไทย ด้วยใจจริง
ธรรมะ คือ ธรรมชาติ
อยู่กับธรรมชาติ ก็คือ อยู่กับธรรมะตลอดกาล

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

คำไหว้บูชาพระธาตุของหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุดรธานี

คำไหว้บูชาพระธาตุของหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุดรธานี


อะหัง วันทามิ สุภัททะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส ฯ


สรรพคุณ


ใช้สวดบูชาพระธาตุของหลวงพ่อชา สุภัทโท เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

คำไหว้บูชาพระธาตุของหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี

คำไหว้บูชาพระธาตุของหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี


อะหัง วันทามิ อนาลยะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส ฯ


สรรพคุณ


ใช้สวดบูชาพระธาตุของหลวงปู่ขาว อนาลโย เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

คำไหว้บูชาพระธาตุของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่

คำไหว้บูชาพระธาตุของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่


อะหัง วันทามิ สุจิณณะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส ฯ


สรรพคุณ


ใช้สวดบูชาพระธาตุของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

คาถาพระบารมีพระพุทธเจ้า

คาถาพระบารมีพระพุทธเจ้า


อิติปาระ มิตาติงสา อิติสัพพัญญูมาคะตา อิติโพธิมะนุปัตโต อิติปิโสจะ เตนะโม


อานุภาพ


ใช้สวดภาวนาเสกขี้ผึ้งใส่ปากเพิ่มเสน่ห์ และเมตตามหานิยม