วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

อริยทรัพย์ 7

อริยทรัพย์ 7 คือ คุณความดีอันเป็นทรัพย์ประเสริฐ 7 ประการ

1. ศรัทธา คือ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ

2. ศีล คือ ประพฤติกายวาจาเรียบร้อย

3. หิริ คือ ความละอายต่อการทำชั่ว

4. โอตัปปะ คือ ความสะดุ้งกลัวต่อการทำชั่ว

5. พาหุสัจจะ คือ ความเป็นคนได้ยินได้ฟังมามาก

6. จาคะ คือ การให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้

7. ปัญญา คือ ความรอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นไท

อกุศลมูล 3 รากเหง้าของความชั่วทั้ง 3 ประการ

อกุศลมูล 3

อกุศลมูล คือ รากเหง้าของความไม่ฉลาด รากเหง้าของความชั่วทั้ง 3 ประการ

1. โลภะ คือ ความอยากได้

2. โทสะ คือ ความคิดประทุษร้ายเขา

3. โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง

หลักพรหมวิหาร4

หลักพรหมวิหาร 4
คือหลักธรรม 4 ประการ คือ ธรรมะของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่

1. เมตตา ความรักใคร่ ปราถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
3. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข
4. อุเบกขา วางตนเป็นกลาง ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ มีทุกข์

หลักทศพิธราชธรรมหรือหลักธรรมของพระมหากษัตริย์


หลักทศพิธราชธรรมหรือหลักธรรมของพระมหากษัตริย์ในการปกครองแผ่นดิน

หลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ มีอยู่ดังนี้

1. ทาน ได้แก่ การให้ปัน ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์

2. ศีล ได้แก่การสำรวม กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม
3. บริจาค ได้แก่ การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่นหรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข

4. อาชวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม

5. มัทวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยดีงาม ละมุนละไม อ่อนโยน สุภาพ

6. ตบะ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ

7. อโกรธะ ได้แก่ ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ

8. อวิหิงสา ได้แก่ การไม่เบียดเบียนคนอื่น

9. ขันติ ได้แก่ ความอดกลั้นไม่ปล่อยกาย วาจา ใจ ตามอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดมีขึ้นนั้น

10. อวิโรธนะ ได้แก่ การธำรงค์รักษาไว้ซึึ่งความยุติธรรม